มะม่วงสายพันธุ์ใหม่ในประเทศไทย
- มะม่วงน้ำดอกไม้สีม่วง
“ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร ต.มหาสวัสดิ์ อ.บางกรวย จ.นนทบุรี ได้เพาะพันธุ์มะม่วงน้ำดอกไม้ชนิดใหม่ที่มีลักษณะพิเศษคือ ลักษณะของผลจะเป็นสีม่วง” การพัฒนาพันธุ์ของ ศูนย์ย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร ต.มหาสวัสดิ์ อ.บางกรวย จ.นนทบุรี ไอเดียจากการผสมเกสร ระหว่างมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้เบอร์ 4 ปากน้ำ ซึ่งมีสีเขียวสวยงาม กับ มะม่วงหงจูของไตหวันซึ่งมีสีออกชมพูแดงๆ รวมถึงเมล็ดจากผลสุกหลายเมล็ด ไปเพาะจนโต ปรากฏว่าออกดอกออกผลจนดก ผลเริ่มเป็นสีม่วงตั้งแต่ยังเป็นผลอ่อนๆ และลักษณะของผลก็เหมือนพันธุ์พ่ออย่างน้ำดอกไม้
ศูนย์การถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรฯ ได้ทำการทดสอบมะม่วงสายพันธุ์นี้ เป็นอันเสร็จสมบูรณ์และพร้อมตั้งชื่อมะม่วงสายพันธุ์นี่ว่า ” มะม่วงน้ำดอกไม้สีม่วง “ และพร้อมตอนกิ่งวางขายเพื่อให้คนอื่นไปขยายพันธุ์ต่อไป
ส่วนผลที่โตเต็มที่มีน้ำหนัก 0.8 – 1.2 กิโลกรัมต่อผล มีรสชาติเปรี้ยวแต่ไม่มากนัก วิธีทานก็เหมือนกับมะม่วงทั่วไป ปอกเปลือก ฝานแล้วจิ้มเกลือหรือน้ำปลาหวานตามที่ต้องการ และถ้าเป็นผลสุกกำลังได้ที่ รสชาติก็จะหวานหอม
2. มะม่วงลูกผสมพันธุ์ 'ยู่เหวิน'
มะม่วงพันธุ์ “ยู่เหวิน” มีถิ่นกำเนิดที่ไต้หวันและเป็นมะม่วงลูกผสมระหว่างพันธุ์ จินหวง กับมะม่วงพันธุ์ “อ้ายเหวิน” (มะม่วงอ้ายเหวินเป็นมะม่วงสายพันธุ์เดียวกับพันธุ์เออร์วิน) มะม่วงลูกผสมสายพันธุ์นี้ได้มีการนำยอดพันธุ์มาเสียบ ยอดในประเทศไทยประมาณ 4-5 ปีมาแล้ว
มะม่วงยู่เหวิน อยู่ในวงศ์ ANACARDIACEAE เป็นไม้ยืนต้น สูง 10-20 เมตร แตกกิ่งก้านสาขาเยอะ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเวียนสลับถี่บริเวณปลายกิ่ง ใบเป็นรูปใบหอก ปลายใบแหลม โคนใบมน ใบจะ
ดูคล้ายใบของมะม่วงพันธุ์เขียวใหญ่ สีเขียวสด ใบดกให้ร่มเงาดีมาก
คุณเสน่ห์ ลมสถิตย์ เกษตรกร อ.ไทรน้อย จ.นนทบุรี ได้นำมาเผยแพร่ให้เกษตรกรได้ขยายพื้นที่ปลูกเนื่องจากต้น พันธุ์ที่ปลูกในสวนได้เริ่มให้ผลผลิตแล้ว ผลปรากฏว่าเป็นมะม่วงที่มีลักษณะเด่นและรสชาติดี คือ มีผลขนาดใหญ่ น้ำหนักผลเฉลี่ย 1-1.5 กิโลกรัม บริโภคได้ทั้งดิบและสุก ในระยะผลดิบหรือห่ามจะมีรสชาติหวานมัน (ไม่มีเปรี้ยว ปน) ระยะผลสุกเนื้อจะมีรสชาติหวานหอม, ไม่เละ, ไม่มีเสี้ยนและไม่มีกลิ่นขี้ไต้ ที่สำคัญสีของผลมีสีม่วงเข้ม ดึงดูดใจแก่ผู้พบเห็น จัดเป็นมะม่วงแปลกและหายาก ปลูกและให้ผลผลิตได้ ในประเทศไทย
3. มะม่วงไต้หวันลูกผสม (T2)
ปัจจุบันไต้หวันมีพื้นที่ปลูกมะม่วงทั้งประเทศประมาณ 165,000 ไร่ ในขณะที่ตัวเลขพื้นที่ปลูกมะม่วงของไทยที่สำรวจจากกรมส่งเสริมการเกษตรมีถึง 2 ล้านไร่ แต่เป็นที่สังเกตว่ามะม่วงไต้หวันมีการส่งออกไปขายยังตลาดต่างประเทศในปริมาณมากถึง 20,000 ตันต่อปีหรือ 20 ล้านกิโลกรัม โดยเฉพาะประเทศที่รับซื้อมากที่สุดคือญี่ปุ่น ในขณะที่ "มะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง" ของไทยมีปริมาณส่งออกไปญี่ปุ่นน้อยกว่าทั้ง ๆ ที่มีพื้นที่ปลูกมากกว่า โดยสายพันธุ์มะม่วงไต้หวันที่ปลูกเพื่อการส่งออกในปัจจุบันมีอยู่ 2 สายพันธุ์คือ มะม่วงพันธุ์จินหวง และมะม่วงพันธุ์อ้ายเหวิน การผลิตมะม่วงส่งออกไปยังญี่ปุ่นของไต้หวันจะมีการควบคุมการผลิตตั้งแต่การตัดแต่งกิ่ง ตรวจสภาพดิน ดูแลช่วงออกดอก ติดผล และห่อผล เก็บเกี่ยวผลผลิตมีเครื่องอบไอน้ำ เพื่อฆ่าไข่ของแมลงวันทองและคัดเกรดเพื่อส่งออกไปญี่ปุ่นซึ่งแตกต่างจากการส่งออกมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองของไทยไปญี่ปุ่น ที่มีบริษัทมารับซื้อจากสวนมะม่วงที่เข้าร่วมโครงการ GAP (เกษตรดีที่เหมาะสม) คัดเกรดและนำไปอบไอน้ำเพื่อส่งออก
- มะม่วงจินหวง
มะม่วงชนิดนี้ เป็นมะม่วงไต้หวัน เกิดจากการผสมเกสรระหว่างมะม่วงจินหวงของไต้หวันที่มีผลขนาดใหญ่ สีสันของผลสวยงามผสมกับเกสรของมะม่วงเขียวใหญ่ของไทย แล้วนำต้นกล้าไปปลูกจนมีดอกติดผล ปรากฏว่า ผลมีขนาดใหญ่ สีสันของผลดิบเป็นสีม่วงทั้งผล ผลสุกเป็นสีแดงน่าชมยิ่ง เนื้อผลแก่จัดมันกรอบปนหวานเล็กน้อย สามารถกินเป็นมะม่วงมันได้ เนื้อสุกเป็นสีเหลืองเข้ม ไม่เละ เนื้อละเอียดเหนียว ไม่มีเสี้ยน ไม่มีกลิ่นขี้ไต้ หวานหอมอร่อยมาก เมล็ดลีบบาง จึงถูกตั้งชื่อว่า “มะม่วงหงส์จินหวง” ชาวไต้หวันนิยมรับประทานอย่างแพร่หลาย
เป็นมะม่วงปีหรือติดผลปีละครั้งตามฤดูกาล ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ตอนกิ่ง ทาบกิ่ง และเสียบยอด
- มะม่วงอ้ายเหวิน
4. มะม่วงแก้วขมิ้น
มะม่วงแก้วขมิ้น เป็นไม้ยืนต้นสูง 10-15 เมตร ใบเดี่ยว ออกเวียนสลับรอบกิ่งก้านหนาแน่นบริเวณปลายยอด ใบเป็นรูปรี ปลายแหลม โคนมน เนื้อใบค่อนข้างหนา เวลาใบดกจะให้ร่มเงาดีมาก ดอกออกเป็นช่อที่ปลายยอด แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยจำนวนมาก เป็นสีเหลืองนวล ดอกมีกลิ่นหอม "ผล" รูปกลมรี ขนาดผลใหญ่ และมีความแตกต่างจากผลมะม่วงแก้วของไทยอย่างชัดเจน ผลโตเต็มที่น้ำหนักเฉลี่ย 2-3 ผล ต่อ 1 กิโลกรัม (บางผลหนักถึง 500 กรัม) เมล็ดลีบบาง มีเนื้อเยอะ รสชาติอร่อยทั้งดิบและสุกตามที่กล่าวข้างต้น ขยายพันธุ์ด้วยการทาบกิ่ง
ความจริงแล้วมะม่วงชนิดนี้ มีถิ่นกำเนิดจากประเทศกัมพูชาช่วงที่มีการนำผลผลิตมาขายในบ้านเราใหม่ๆ เรียกมะม่วงแก้วเขมร ปัจจุบันนำเข้ามาปลูกและขยายพันธุ์ในประเทศไทยนานหลายปีแล้ว มีความพิเศษคือ เป็นมะม่วงปลูกรับประทานได้ทั้งผลดิบและผลสุก ผลมีขนาดใหญ่กว่ามะม่วงแก้วของไทยอย่างชัดเจน เป็นมะม่วงติดผลดกได้ปีละ 2 ครั้ง เนื้อผลแก่จัดหรือสุกเมื่อผ่าจะเป็นสีเหลืองเข้มคล้ายสีของขมิ้น จึงถูกเรียกชื่อว่า "มะม่วงแก้วขมิ้น" รสชาติช่วงผลดิบสับเป็นชิ้นๆ จิ้มเกลือพริกป่น หรือรับประทานกับน้ำปลาหวานกรอบมันปนเปรี้ยวและหวานเล็กน้อย ฉ่ำน้ำ เนื้อไม่แข็งหยาบกระด้าง หรือเหนียวเหมือนมะม่วงรับประทานผลดิบบางสายพันธุ์
5. มะม่วงพันธุ์เคนซิงตัน ไพรด์
มะม่วงที่ปลูกมากที่สุดในออสเตรเลีย
หลายคนยังไม่ทราบว่ามะม่วงพันธุ์อาร์ทูอีทูเป็นมะม่วงของประเทศออสเตรเลียที่ปลูกและให้ผลผลิตได้ในประเทศไทย
มีจุดเด่นตรงที่ถ้าออกดอกแล้วช่อดอกใหญ่และดอกสมบูรณ์เพศทำให้มีการติดผลได้ง่ายมาก
หรืออาจจะกล่าวง่ายๆ ว่าถ้าออกดอกแล้วโอกาสติดผลมีสูงมาก
ในขณะที่พื้นที่ปลูกมะม่วงในประเทศออสเตรเลียเองจะมีการปลูกมะม่วงหลักๆ อยู่ 2
สายพันธุ์ คือ พันธุ์ "เคนซิงตัน ไพรด์" (Kensington Pride) และพันธุ์
"อาร์ทูอีทู" (R2E2)
ยังมีข้อมูลเพิ่มเติมอีกว่า
คนออสเตรเลียนิยมบริโภคมะม่วงพันธุ์เคนซิงตัน ไพรด์ มากที่สุด
ผลผลิตมะม่วงสายพันธุ์นี้มีผลผลิตเฉลี่ยประมาณปีละ1.65
ล้านกิโลกรัม
มีผลผลิตในแต่ละปีมากกว่ามะม่วงอาร์ทูอีทูที่ปลูกในออสเตรเลียหลายเท่า
คนไทยส่วนใหญ่ยังไม่ค่อยรู้จักมะม่วงสายพันธุ์นี้ ทั้งที่มะม่วงพันธุ์
"เคนซิงตัน ไพรด์" จัดเป็นมะม่วงที่มีเนื้อละเอียดและรสชาติหวานอร่อย
มีกลิ่นหอมมาก ไม่มีกลิ่นขี้ไต้และสามารถปลูกให้ผลผลิตดีในประเทศไทย
มีน้ำหนักผลเฉลี่ย 300-500 กรัม ต่อผล
ในอนาคตมะม่วงพันธุ์เคนซิงตัน ไพรด์ ซึ่งเป็นสายพันธุ์มะม่วงที่ปลูกมากที่สุดในออสเตรเลียจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการส่งออกมะม่วงไทย
เพราะตอบสนองต่อการใช้สารแพคโคลบิวทราโซลในการบังคับให้ออกนอกฤดูได้เป็นอย่างดี
อ้างถึง
อ้างถึง
มะม่วงน้ำดอกไม้สีม่วง http://food.mthai.com
มะม่วงลูกผสมพันธุ์ 'ยู่เหวิน' http://alangcity.blogspot.com/
มะม่วงไต้หวันลูกผสม (T2)
มะม่วงแก้วขมิ้น
มะม่วงพันธุ์เคนซิงตัน ไพรด์
http://info.matichon.co.th
มะม่วงลูกผสมพันธุ์ 'ยู่เหวิน' http://alangcity.blogspot.com/
มะม่วงไต้หวันลูกผสม (T2)
มะม่วงแก้วขมิ้น
มะม่วงพันธุ์เคนซิงตัน ไพรด์
http://info.matichon.co.th
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น