วันศุกร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2558

มะม่วงไทย

มะม่วงไทย 

         มะม่วง เป็นไม้ยืนต้นในสกุล Mangifera ซึ่งเป็นไม้ผลเมืองร้อนในวงศ์ Anacardiaceae 
เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในอินเดียเพราะการที่ภูมิภาคนั้นมีความหลากหลายทางพันธุกรรมและร่องรอยฟอสซิลที่หลากหลายะม่วงมีความแตกต่าง
ประมาณ49สายพันธุ์กระจายอยู่ตามประเทศในเขตร้อนตั้งแต่อินเดียไปจนถึงฟิลิปปินส์จากนั้นจึงแพร่หลายไปทั่วโลก 
  • เป็นไม้พุ่มขนาดกลางใบโตยาวปลายแหลมขอบใบเรียบใบอ่อนสีแดงออกดอกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ดอกขนาดเล็ก สีขาว ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีเหลือง เมล็ดแบน เปลือกหุ้มเมล็ดแข็ง
  • มะม่วงเป็นผลไม้เศรษฐกิจ ปลูกเป็นพืชสวนประเทศไทยส่งออกมะม่วงเป็นอันดับ3รองจากฟิลิปปินส์และเม็กซิโกเป็นผลไม้ประจำชาติของอินเดียปากีสถานและฟิลิปปินส์รวมทั้งบังกลาเทศ    
หมวด:
ชั้น:
อันดับ:
วงศ์:
สกุล:
สปีชีส์:
M. indica
Mangifera indica


        1. สายพันธุ์มะม่วงในไทย
         มะม่วงมีพันธุ์มากมายดังที่ปรากฏในหนังสือพรรณพฤกษาของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ที่กล่าวถึงมะม่วงในสมัยรัชกาลที่ 5 ไว้กว่า 50 พันธุ์   แต่สามารถแบ่งพันธุ์มะม่วงตามการบริโภคได้เป็น 3 ประเภทคือ

  • มะม่วงรับประทานผลสุก ผลของมะม่วงรับประทานสุกนี้ขณะดิบจะมีรสเปรี้ยวมาก แต่พอเริ่มสุกแป้งในเนื้อมะม่วงจะเปลี่ยนเป็นน้ำตาล พอสุกได้ที่รสจะหวานอร่อย ตลาดโลกส่วนใหญ่รู้จักแต่มะม่วงรับประทานสุกนี้ทำให้เป็นที่นิยมมาก ซึ่งพันธุ์ของมะม่วงรับประทานสุกในไทยมีเช่น อกร่อง แรด ตะเพียนทอง โชคอนันต์ เป็นต้น
  • มะม่วงรับประทานผลดิบ ผลของมะม่วงรับประทานผลดิบสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ตั้งแต่ยังไม่แก่จนถึงแก่จัด แต่ไม่เป็นที่นิยมในตลาดโลกมากนักเพราะผู้คนยังยึดติดกับการรับประทานมะม่วงสุก ซึ่งพันธุ์มะม่วงรับประทานดิบในไทยมีเช่น เขียวเสวย ฟ้าลั่น แก้วลืมรัง น้ำดอกไม้มัน เป็นต้น
  • มะม่วงเพื่ออุตสาหกรรมการแปรรูป ผลมะม่วงอาจสามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆได้เช่น มะม่วงดอง แยมมะม่วง มะม่วงแช่อิ่ม มะม่วงกวน มะม่วงสามรส เป็นต้น แต่ถึงอย่างนั้นก็ใช่ว่ามะม่วงทุกสายพันธุ์จะสามารถนำไปทำผลิตภัณฑ์ทุกอย่างได้ แต่ละพันธุ์ก็สามารถแปรรูปได้ต่างกัน เช่น การดองมะม่วงจะนิยมใช้มะม่วงที่มีเนื้อแน่น คือ มะม่วงแก้ว เป็นต้น


      2. สายพันธุ์มะม่วงที่นิยมบริโภค

  • มะม่วงน้ำดอกไม้
      มะม่วงไทยจำหน่ายในประเทศญี่ปุ่น ส่วนใหญ่เป็นพันธุ์มะม่วงน้ำดอกไม้ และมีชื่อเรียกอื่นๆ ได้แก่ “Golden mongo”  “Yellow mango” มะม่วงน้ำดอกไม้ เป็นที่รู้จักและนิยมมากที่สุดในญี่ปุ่นในปัจจุบัน โดยเฉพาะน้ำดอกไม้สีทอง และน้ำดอกไม้เบอร์ 4 มีรูปทรงไข่แบน เปลือกบางผิวและเนื้อสีเหลือง มีจุดเด่นที่ สีผิวเหลืองนวลสวยงาม เนื้อแน่น นุ่มเป็นเสี้ยนเล็กน้อย มีเนื้อมาก เมล็ดบาง รสหวานอมเปรี้ยวเล็กน้อย  เหมาะการรับประทานสุก แต่มีผิวบาง ต้องได้รับการดูแลรักษาอย่างดี ผลดิบจะมีรสเปรี้ยวมาก รับประทานเป็นมะม่วงดิบ หรือทำสลัดได้ 


  • มะม่วงมหาชนก
มหาชนกเป็นมะม่วงพันธุ์ผสมระหว่างมะม่วงหนังกลางวัน และมะม่วงซันเซท ผลมะม่วงมหาชนกมีรูปร่างยาวเรียวรี เหมือนงาช้าง  เปลือกค่อนข้างหนา น้ำหนักผลประมาณ  300 – 600 กรัม/ผล เมื่อสุกมีกลิ่นหอมจัด เนื้อสีส้มอมเหลือง มีกลิ่นขี้ไต้ ผลสุก รสหวานหอม มีกลิ่นหอมฉุนขี้ไต้เล็กน้อย และกลิ่นฉุนเพิ่มขึ้นเมื่อสุกแก่จัด รสหวานอ่อนกว่าน้ำดอกไม้และไม่อมเปรี้ยว เนื้ออ่อนนุ่ม ปริมาณเนื้อมาก เมล็ดบาง เหมาะกับการรับประทานสุก และนำทำน้ำมะม่วง ขนมหวาน และไอศครีม ผลดิบมีรสเปรี้ยว 

  • มะม่วงหนังกลางวัน
        เป็นมะม่วงพันธุ์หนึ่งที่เคยเป็นที่นิยมผลิตส่งออกต่างประเทศโดยเฉพาะญี่ปุ่น ผลมีขนาดปานกลางถึงใหญ่ ลักษณะของผลมีรูปร่างยาวพอๆ กับมะม่วงน้ำดอกไม้ หัวท้ายของผลงอน แต่ส่วนปลายจะแหลมและงอนเล็กน้อย ผิวของผลเมื่อแก่จัดจะมีสีเขียวหม่น ผิวเรียบ เนื้อสีขาวนวลละเอียด กรอบ มีเสี้ยนค่อนข้างน้อย รสเปรี้ยว ผลสุกจะมีผิวสีเหลืองทอง เนื้อสีเหลือง ลักษณะของเนื้อละเอียดมีเสี้ยนน้อย รสหวานหอม เมล็ดบาง เปลือกของผลหนาทำให้ขนส่งได้ดี ภาคเหนือเรียกว่า มะม่วงงา บางแห่งเรียกมะม่วงแขนอ่อน



  • มะม่วงแรด 
       มะม่วงแรดมีผลรูปไข่กลม ปลายงอนแหลมมนตรงใกล้ขั้วจะมีติ่งยื่นออกมาคล้ายนอแรดผิวเปลือกสีเขียวเข้ม เปลือกหนาเหียว เมื่อดิบมีสีเขียวอมเหลือง เนื้อสีเหลืองอมเขียว เนื้อหยาบ มีเสี้ยน ผลดิบมีรสเปรี้ยว ผลสุกมีรสหวานอมเปรี้ยว เหมาะสำหรับการรับประทานดิบ ทำสลัด ยำมะม่วง




  • มะม่วงเขียวเสวย
  เป็นมะม่วงที่ได้รับความนิยมสูงในปัจจุบัน ผลใช้รับประทานดิบคุณภาพดีมาก รสชาติหวานตรงกับความต้องการของคนไทยผลมีลักษณะค่อนข้างกลมเรียวยาวงอนเล็กน้อย โดยมีส่วนหัวใหญ่หนาและเรียวลงสู่ส่วนปลาย ผลสีเขียวเข้ม เนื้อภายในมีสีขาวละเอียด กรอบ มีเนื้อมาก เสี้ยนค่อนข้างน้อย น้ำหนักของผลประมาณ 350 กรัม เมื่ออ่อนจะมีรสเปรี้ยว เปลือกหนาและเหนียว เมื่อแก่จัดจะมีรสหวานมัน เมื่อสุกเปลือกจะมีสีเขียวปนเหลืองลักษณะของเนื้อภายในเหลืองรสหวานชืด  


  • มะม่วงอกร่องทอง 
   เป็นพันธุ์มะม่วงที่เก่าแก่รู้จักกันทั่วไป ใช้สำหรับรับประทานสุกกับข้าวเหนียวขนาดผลค่อนข้างเล็ก ลักษณะของผลค่อนข้างแบน ตรงส่วนท้องเป็นทางยาวจนเห็นได้ชัด ผลดิบเนื้อละเอียดสีขาวนวล มีเสี้ยนน้อย รสเปรี้ยวจัดจนกระทั่งแก่ เมื่อสุกผิวของเปลือกเปลี่ยนเป็นสีเหลืองทองมีกลิ่นหอม เนื้อสีเหลืองละเอียด รสหวานจัด เมล็ดมีลักษณะยาวแบน


  • มะม่วงทองคำ

  ผลมีขนาดโตปานกลาง ลักษณะของผลจะหนา ป้อมปลายผลแหลมคล้ายรูปไข่ เมื่อดิบเปลือกสีเขียวเข้ม เนื้อสีขาวปนเหลือง เนื้อละเอียดกรอบ ผลเมื่อยังอ่อนอยู่จะมีรสเปรี้ยว แก่จัดรสมันอมเปรี้ยว ผลสุกผิวเปลือกสีเหลืองปนเขียว เนื้อสีเหลืองละเอียดมีเสี้ยนน้อย รสหวานอมเปรี้ยวเล็กน้อย




  • มะม่วงแก้ว 
   เป็นมะม่วงใช้รับประทานดิบ และใช้แปรรูป ได้หลากหลาย ผลมีลักษณะอ้วนป้อม ขั้วผลอูมใหญ่ เปลือกเหนียว เมื่อดิบผิวมีสีเขียวอ่อน เนื้อมีสีขาวรสเปรี้ยว เมื่อแก่เปลือกมีสีเขียวเข้ม และอมเหลืองส้มเมื่อแก่จัด  เนื้อเป็นสีเหลือง เมื่อสุกรสจะหวาน หอม




                                                                   

  • มะม่วงโชคอนันต์ 
 เป็นมะม่วงรับประทานสุก มีผลผลิตลอดทั้งปีแม้กระทั่งในฤดูฝน ลักษณะของผลคล้ายมะม่วงพิมเสนมัน เปลือกผลหนา เนื้อแข็ง เมื่อสุกเนื้อแน่นละเอียดไม่มีเสี้ยน เนื้อสีเหลืองทอง มีกลิ่นคล้ายมะม่วงสามปี รสชาติหวาน เมล็ดลีบหรือเมล็ดบาง ผลสุกแล้วสามารถเก็บไว้ได้นาน 5-7 วัน โดยที่เนื้อยังไม่เละ ผลแก่เก็บทิ้งไว้ 15 วันก็ยังทานได้



  • มะม่วงฟ้าลั่น 
   เป็นมะม่วงที่นิยมรับประทานดิบ ในกลุ่มมะม่วงมัน รสมัน และไม่อมหวาน เนื้อขาวอมเขียว เวลาปอกจะมีเสียงแตก เป็นที่มาของชื่อฟ้าลั่น








อ้างถึง  
มะม่วงไทย                         http://th.wikipedia.org/wiki
สายพันธ์ุมะม่วงในไทย       https://ciripanya5651.wordpress.com
สายพันธุ์มะม่วงที่นิยมบริโภค  http://www.thaiembassy.jp/rte3/index.php


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น